ภาษีสหรัฐ ประเทศไทยยอม 0% เสียเปรียบแค่ไหน
สถานการณ์เรียกเก็บภาษี Reciprocal Tariffs ไทยยอม 0%
กลายเป็นแรงกดดันและจุดเปลี่ยนทั้งประเทศ หากการเจรจาภาษีระหว่างประเทศไทย และ สหรัฐอเมริกาไม่ลงตัว หรือ ไม่สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ แถมตอนนี้เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย และ เวียดนาม นำหน้าเราไปแล้วผ่านมาตรการ ลดภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐ 0% ตอนนี้กลายเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลอย่างมากกับภาคเอกชนของประเทศไทย โดยเฉพาะสภากลุ่มอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลัวว่าไทยจะถูกดันให้ดำเนินการในลักษณะเดียวกันแม้ไทยจะมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐสูงถึง 45,000 ล้านดาลลาร์ในปีที่ผ่านมา เป็นตัวเลขที่มากกว่าอินโดนีเซียถึง 2.5 เท่า แถมยังมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาที่ 18% เมื่อเทียบกับเวียดนาม ที่มากกว่า 30%
จากแรงกดดันทางภาษีดังกล่าวทาง ส.อ.ท. ได้ออกมาประกาศจุดยืนที่ชัดเจนแทนภาคเอกชนไทย โดยระบุว่าประเทศไทยสามารถยอมรับการลดภาษีนำเข้าให้เหลือ 0% ให้กับสหรัฐอเมริกาได้ เพียงบางรายการสินค้าเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ยา ที่สหรัฐมีความสามารถในการผลิตยาคุณภาพสูง แต่ไม่เห็นด้วยหากจะลดภาษีเป็น 0% สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง และ ยังอยูในช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ โจทย์ที่ท้าทายยิ่งกว่าสำหรับทีมเจรจาของไทย ที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และ ทักษะอีกเพียบในการรับมือ เพื่อรักษาสมดุล และ ประโยชน์ของประเทศ
เรื่องภาษีนำเข้าก็เรื่องนึงแต่ยังมีอีกเรื่องที่ประเทศไทยต้องเจอนั่นก็คือ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ Local Content หรือวัตถุดิบในประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อเป็นการป้องกันการสวมสิทธิ สินค้าสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปยังอเมริกานั่นเอง มาตรการนี้ถูกมองว่าเป็นการควบคุมและสกัดกั้นปัญหาสินค้าที่ถูกสวมสิทธิ หรือ Transshipment ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประมาณ 10-15 กลุ่มอุตสหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบในประเทศน้อยกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ การป้องกันการฉวยโอกาส และเสริมความได้เปรียบของสินค้า Made in Thailand กลายเป็นความท้าทายที่สำคัญที่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างเข้มงวดจากทุกกระทรวง ทบวง ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ
กระทรวงเหล่านี้มีอำนาจในการออกใบอนุญาต และ สามารถส่งเสริมการลงทุนรวมไปถึงการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เป็ฯอีกหนึ่งความท้าทางที่ประเทศไทยกำลังเจอยู่ตอนนี้ ทำให้ไม่ใช่แค่เพียงเจรจาเรื่องภาษีนำเข้าเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้ครอบคลุมถึงการสร้างความแข็งแกร่งและโปร่งใสให้กับห่วงโซ่อุปทานการผลิตของไทยเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าไทยยังได้รับการยอมรับในตลาดโลก และ ช่วยให้ไทยสามารถรักษาสมดุลทางการค้ากับทุกกลุ่มประเทศที่ประเทศไทยทำการค้าด้วย โดยไม่เอียงไปประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการนำพาประเทศให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์การค้าโลกที่ผันผวนได้