เปรียบเทียบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 2540 vs 2568

 In บทความ

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 2540 vs 2568

ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ ซึ่งต้องการแรงขับเคลื่อนครั้งใหญ่ ทางรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณ โดยได้โยกงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาท จากโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ตเดิม เพื่อนำมาสนับสนุนในภาคส่วนที่เจาะจงมากขึ้น แทนแนวทางใหม่นี้ เพื่อหวังที่จะนำเม็ดเงินจำนวนมาก ไปสู่ภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และ ชุมชนโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น

  • SME (Small and Medium-sized Businesses)
  • การท่องเที่ยว
  • การเกษตร
  • แก้ไขปัญหาถนน

การใช้จ่ายด้วยงบประมาณมหาศาลขนาดนี้มาจากงบประมาณกลางของประเทศ นั่นก็คือ เงินภาษีของประชาชนซึ่งมันต้องมาพร้อมกับคำว่า “ความคุ้มค่า” ที่ประเทศ และ ประชาชนจะได้รับ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง)

หากย้อนไปในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 รัฐบาลในขณะนั้นได้มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญโดยใช้ชื่อโครงการว่า “มิยาซาวา” หรือ Miyazawa Initiative ซึ่งโครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาะประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือที่เราเรียกกันว่า Soft Loan ซึ่งวิธีการก็คือการค้ำประกันพันธบัตร ประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเงิน และช่วยเสริมสภาพคล่อง และ กระตุ้นเศรษฐกิจ

โครงการมิยาซาวา ในขณะนั้นได้ชื่อว่าเป็นโครงการที่ช่วยกอบกู้วิกฤติสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้นทำให้ ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และยังช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการขาดแคลนสภาพคล่อง นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างงาน และ เป็นการวางรากฐานสำหรับฟื้นตัวในระยะยาว โครงการนี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ และตลาดโลก รวมถึงช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้จะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็ยังคงเป็นภาระหนี้สินที่รัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบ และ ชำระคืนในระยะยาว ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุน หรือ ความคุ้มค่าในอีกมุมหนึ่ง

มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในปี 2568

สำหรับมาตรการ การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในปัจจุบันนั้น ใช้งบประมาณกลางประมาณ 1.57 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นภาษีของประชาชน ความแตกต่างด้านแหล่งเงินทุน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ในการพิจารณาความคุ้มค่า การกระตุ้นครั้งใหญ่นี้เน้นการสนับสนุนแบบเจาะจงภาคส่วน โดยมุ่งเป้าไปที่ระบบการเงิน และ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่นี้ มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนแบบเจาะจงภาคส่วน  พุ่งไปที่ภาคส่วนที่เจอปัญหาเฉพาะหน้า แตกต่างจากโครงการ มิยาซาวา ที่เน้นไปที่การแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ในระบบการเงิน และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก การกระตุ้นแบบใหม่อาจช่วยให้มีการกระจายเม็ดเงินเข้าสู่ฐานราก ไปยังภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และ ชุมชนโดยตรง

บทสรุปของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ จะออกมาในรูปแบบไหน ต้องมาตั้งคำถามกันว่าตอนนี้ ด้วยกลไก และ บริบ รวมไปถึงแหล่งเงินทุนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่าง 2 ยุคสมัยนี้ รวมไปถึงมาตรการที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน มันให้ความคุ้มค่า จริงรึเปล่า? รัฐบาลจะต้องมีมาตรการควบคุมประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย และ บริหารจัดการโครงการรวมไปถึงการป้องกันการรั่วไหลอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การใช้จ่ายในงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจได้ตามที่คาดการณ์เอาไว้

Recent Posts

Start typing and press Enter to search