เปิดรายละเอียดลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย ผ่านเว็บไซต์ bot.or.th
มาตรการใหม่โครง ช่วยลูกหนี้กับโครงการ คุณสู้ เราช่วย
เปิดมาตรการใหม่ล่าสุดจากทางรัฐบาลที่ได้ร่วมมือกับทางกระทรวงการคลัง ได้ออกมาเปิดเผยถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง กับทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เพื่อที่จะมุ่งลดภาระทางการเงินกให้กับลูกหนี้ ที่กำลังประสบปัญหาในการชำระหนี้ทำให้สามารถช่วยประคองตัว เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน และ สินทรัพย์สำคัญ ผ่านแนวทางการปรับโครงการสร้างหนี้ เพื่อเป็นการช่วยลดภาระการผ่อนชำระต่องวด
ตอนนี้มีผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ คุณสู้ เราช่วย เข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะทำให้การเข้าใช้งาน สำหรับสาวด่วน ธปท. 1213 ล่าสุด รวมไปถึงการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ด้วย แต่ประชาชน สามารถเข้าร่วมผ่านการลงทะเบียนโครงการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5 ขั้นตอนการลงทะเบียนโครกงาร คุณสู้ เราช่วย
- เข้าไปที่เว็บไซต์ bot.or.th/khunsoo และทำการตรวจสอบคุณสมบัติ รวมไปถึงเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
- สมัครใช้งานด้วยระบบอีเมล หรือThaiID โดยทำการสแกน QR บนแอปพลิเคชั่น ThaiID เพื่อยืนยันตัวตน
- ทำการกรอกข้อมูลการลงทะเบียน โดยใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ และ นามสกุล, หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์ และ อีเมล
- ส่งคำขอแก้หนี้ โดยให้ทำการเลือก ผู้ให้บริการที่ต้องการเข้าร่วม และ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเข้าร่วมหากมีผู้ให้บริการ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเข้าร่วมมากกว่า 1 แห่ง หรือ มากกว่า 1 ประเภท สามารถทำการกดเพิ่มเติมได้
- ยืนกันการลงทะเบียน ให้ทำการกรอกข้อมูลให้ครบ โดยให้ลูกหนี้เก็บหมายเลขคำร้องเอาไว้ ระบบจะทำการแสดงหมายเลขคำร้องให้เก็บไว้เพื่อติดตามสถานะ
โครงการ คุณสู้ เราช่วย โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ลูกหนี้ สามารถจัดการภาระหนี้ได้อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นโอกาสในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และ เศรษฐกิจของประชาชนคนไทยทั่วประเทศ โดยผู้ที่สนใจ สามารถทำการลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 ภุมภาพันธ์ 2568
ผู้ที่ประสงค์ในการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด และจะได้รับสิทธิ์เท่ากันทุกคน โดยสถาบันการเงินจะเริ่มทำการติดต่อกลับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจเข้ารวมโครงการ และ ทำการลงทะเบียน สามารถทำการตรวจสอบสถานะคำร้องผ่านทางเว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo
มาตรการช่วยเหลือ คุณสู้ เราช่วย แบ่งออกเป็น 2 มาตรการด้วยกัน
- มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” เป็นการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวด ลดภาระดอกเบี้ย และ เน้นตัดชำระต้นเงิน
- มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” การลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ NPL ที่มียอดหนี้ไม่สูง
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่เข้ารวมโครงการ
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาขน)
- ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิเดียนโวเวอร์ซีส์
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)