10 วิธีรับมือน้ำท่วมฉับพลัน และ พายุ
เปิดรายละเอียดขั้นตอนการรับมือน้ำท่วม และ พายุ
จากข่าวพายุวิภา ที่กำลังจะเข้าประเทศไทย ซึ่งผลกระทบโดยตรงที่ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน อาคารเสียหายในหลายๆพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ, อีสานตอนบน และ ภาคกลางฝั่งตะวันตก โดยอาจจะได้รับสิทธิผลต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี หลายคนที่กำลังจะเจอกับน้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก รวมไปถึงพายุ ซึ่งประเทศไทยไม่ค่อยได้พบได้เจอ ทำให้ไม่มีความรู้ในการรับมือ วันนี้เราไปเช็คกันดีกว่าว่า ขั้นตอนในการรับมือน้ำท่วมฉับพลัน และ พายุ ต้องทำอย่างไร
สาเหุตน้ำท่วมฉับพลันเกิดจากอะไร?
น้ำท่วมฉับพลัน คือภัยพิบัติที่มาจากฝนตกหนัก หรือ ฝนตกต่อเนื่อง จากพายุ และ ลมมรสุม หรือ หย่อมความกดอากาศต่ำ นอกจากนี้ยังเกิดจากเขื่อนพัง น้ำป่าไหลหลากหรือ น้ำทะเลหนุนสูง
10 วิธีรับมือน้ำท่วมฉับพลัน และ พายุ
- ติดตามข่าวสาร หรือ สถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากน้ำท่วมฉับพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะต้องเฝ้าระวังอยู่เสมอ
- จัดเตรียมกระเป๋า หรือของสำคัญเช่นพวกเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, สมุดบัญชีธนาคาร, บัตรต่างๆ, ข้าวสาร อาหารแห่ง รวมไปถึงน้ำดื่ม, ยาสามัญประจำบ้าน
- เตรีนมอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม ชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือ แบตสำรองเอาไว้
- เตรียมขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และ เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้นำขึ้นที่สูง, ปิดวงจรไฟ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
- เตรียมอุปกรณ์หรือ วิธีในการป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน เช่นวางกระสอบทราบ, ปิดท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมที่ขึ้นมาจากท่อ
- บันทึกหรือจดเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่สำคัญ
- ศึกษาเส้นทางอพยพ หรือ เส้นทางปลอดภัยใกล้บ้านล่วงหน้า หรือ เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาเจอของจริงจะได้สามารถอพยพทันที
- หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ และ สัมผัสโลหะเสาไฟ หรือ ราวสะพาน เนื่องจากอาจจะถูกไฟดูดได้
- อยู่ให้ห่างจากอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากจะส่งผลให้อาคารถล่มถูกทับ หรือ บาดเจ็บได้
- ถ้าเจอพายุแรงๆ หรือ ลมแรงๆ แนะนำให้ปิดประตูบ้าน หรือ หน้าต้างให้มิด เพื่อป้องกันอันตราย
หากเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน และ พายุ ไม่ควรขับรถฝ่าน้ำหลาก แนะนำให้ออกจากรถและขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูง นอกจากนี้หากมีเด็กเล็กแนะนำให้สอนวิธีป้องกัน และ เอาตัวรอดเอาไว้ด้วย เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้เตรียมความพร้อมเอาไว้ได้ทัน