World Bank หั่น GDP ไทยเหลือ 1.1%

 In บทความ

เวิลด์แบงก์หั่น GDP ไทยเหลือเพียง 1.1% โตแค่ 1.8%

ข่าวใหญ่ที่กระทบนักลุงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับการแจ้งของ World Bank ที่มีการแจ้งว่าตัวเลข GDP ของประเทศไทยปีนี้เหลือเพียง 1.1% เท่านั้น และโตเกียว 1.8% สวนทางกับการคาดการณ์แบงก์ชาติที่คาดการณ์เอาไว้ที่ 2.3% มีการชี้ว่าการส่งออกใน Q1 จริงๆแต่ครึ่งปีหลังอาการหนักแน่นอน

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้นเศรษฐกิจไทยต้องเจอกับความเสี่ยงทุกทิศทางล่าสุดธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ ออกรายงาน Thailand Economic Monitor ซึ่งปรับลดคาดการณ์การเติมโตของเศรษฐกิจไทยปี 2025 ลดลงเหลือเพียง 1.8% และ ปีหน้าลดเหลือ 1.7% เนื่องจากหลายปัจจัยแต่ที่เด่นที่สุดคือผลกระทบจากสงครามการค้า มีการระบุถึงความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ได้รวมอยู่ในประมาณการช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จากรายงาน Thailand Economic Monitor ที่ตอนนั้นคาดการณ์ว่า GDP จะโตได้สูงถึง 2.9% แต่ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากในปัจจุบันจนทำให้เกิดความไม่แน่นอนทั่วโลก ส่งผลโดยตรงกับการส่งออก และ ทำให้การลงทุนภายในประเทศชะลอลง

ตัวเลขการส่งออกถึงแม้จะดูดี แต่เพราะว่าเป็นการเร่งการส่งออกในช่วงการชะลอภาษี 90 วันของโดนัลด์ ทรัมป์หรือ Front Loading ซึ่งหลักล้างกับช่วงที่เหลือของปีที่แล้ว คาดว่าจะทำให้ GDP โตเพียง 1.8% ตามรายงาน ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์ จาก World Bank ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ เกี่ยวกับความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้า ซึ่งจะทำให้การส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2568 ชะลอตัวถึงแม้ว่าในไตรมาสที่ 1 ตัวเลขของการส่งออกจะดูดีเพราะว่ามีการเร่งการส่งออกในช่วงการชะลอภาษี 90 วันของโดนัลด์ ทรัมป์ หรือ Front Loading เมื่อหักกับช่วงเวลาที่เหลือของปี 2568 แล้วคาดการณ์ตัวเลข GDP จะโตแค่ 1.8%

3 ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย

นอกจากปัญหาระยะสั้นจากสงครามการค้าแล้ว ประเทศไทยของเรายังมีปัญหาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยอีกด้วย ซึ่งจะมีอยู่ 3 อย่างที่เป็นปัจจัยหลักในปัญหาทางด้านโครงสร้างของประเทศไทยเรา

  1. สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยากขึ้น
  2. ทักษะ Digital Skill ขาดแคลน ทักษะดิจิทัล และ การศึกษาที่ยังไม่ตอบสนองต่อเศรษฐกิจดิจิทัล ถึงแม้ประเทศไทยมีการรับรองหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมสูง แต่ยังคาดแคลนคนที่มีทักษะในการควบคุม และ บริหารจัดการ
  3. นโยบายการคลัง การบริหารจัดกการงบประมาณ การจัดการค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการจัดเก็บรายได้เพื่อลงทุนในอนาคตของประเทศไทย โดยไม่สร้างภาระหนี้ที่เกินตัวให้กับคนรุ่นหลัง

 

 

Recent Posts

Start typing and press Enter to search